จาก…ศูนย์บรรณสารสนเทศ สู่…สำนักบรรณสารสนเทศ

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 “ศูนย์บรรณสารสนเทศ” ได้รับการยกฐานะจากหน่วยงานระดับศูนย์ เป็น “สำนักบรรณสารสนเทศ” ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักบรรณสารสนเทศและสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2529 มีเนื้อหาใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ในสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ได้ขยายงานด้านบริการห้องสมุดและสื่อการศึกษาในระบบการสอนทางไกลมากขึ้น ประกอบกับโครงสร้างปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น เพื่อให้การบริหารงานเป็นอิสระและดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรยกฐานะศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา โดยจัดตั้งขึ้นเป็นสำนักบรรณสารสนเทศ…”

สำนักบรรณสารสนเทศ หรือห้องสมุด มสธ. มีแนวคิดจัดระบบบริการห้องสมุดให้สอดคล้องกับระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัย ด้วยการบริการในระบบเครือข่ายจากส่วนกลางกระจายไปในระดับภูมิภาค และระดับจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรองรับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองของนักศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมุ่งเน้นให้การบริการถึงผู้ใช้บริการมากที่สุด โดยแบ่งเป็นระดับ ดังนี้ 1) บริการระดับส่วนกลาง ณ ที่ทำการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี 2) บริการระดับในส่วนภูมิภาค ณ ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ และศูนย์วิทยบริการบัณฑิตศึกษา 3) บริการระดับจังหวัด ณ ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ มุม มสธ. ตั้งอยู่ในห้องสมุดประชาชนประจำจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งหมดเป็นเครือข่ายบริการความรู้ที่ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วทุกจังหวัด ถือเป็นลักษณะเด่นที่แตกต่างจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม

? พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักบรรณสารสนเทศและสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2529 ?bit.ly/3znVROC
? บทความ “แรกริเริ่มมี “สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ.” พัฒนามุ่งมั่นก้าวสู่บริการที่เป็นเลิศ” ?bit.ly/3BxSMul
? หนังสือ “20 ปี บรรณสาร พัฒนาการที่ภาคภูมิ” ?bit.ly/3LhZXe7

ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจ

เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”

ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่

เรียบเรียงโดย

ดวงรัตน์ ดีขั้ว บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ

[sc name=”libinfoservice” ][/sc]

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น