โครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญา

ศูนย์การเรียนรู้สำหรับประชาชน นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างสรรค์ทางวิชาการ
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ก่อสร้างอาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้เรียน คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสถานที่จัดกิจกรรมกลุ่ม เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ทางวิชาการ พื้นที่สันทนาการ และศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ เป็นสถานที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย โดยนำวิชาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ตลอดจนเสริมสร้างเครือข่ายการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานในองค์กรต่างๆ ส่งเสริมและเผยแพร่ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ศาสนาและเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติของมหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาทางไกล

ภาพอาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางการศึกษาตลอดจนการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัดที่ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงความรู้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด ความรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องวัย เพศ สถานที่ และเวลา แต่เกิดจากความสามารถของแต่ละบุคคลในการติดต่อเชื่อมโยงกับแหล่งความรู้จากศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญาได้โดยอิสระ สำนักบรรณสารสนเทศจึงดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญาให้เป็นแหล่งที่สร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางการศึกษาสำหรับพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน

อนึ่งสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา เป็นสารสนเทศที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติท้องถิ่น วิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัดนนทบุรี สำนักบรรณสารสนเทศได้ทำการรวบรวม พัฒนา จัดเก็บและเผยแพร่ในวงกว้าง เพื่อใช้เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านท้องถิ่นนนทบุรีให้แก่ผู้สนใจศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางสอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญา ในการการอนุรักษ์และฟื้นฟู พัฒนาการเรียนรู้และความตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนในชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อส่งเสริมทุนทางสังคมของคนทุกช่วงวัยในการรักษาวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้ดำรงอยู่และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสู่เศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

วิถีมอญในไทย

หนังสือภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา

พินิจหัตถศิลป์มอญ

หนังสือ AR ภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา

วิจิตรศิลป์ดินเผา

หนังสือ AR ภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา

สารสนเทศนนทบุรีศึกษารูปแบบเกมส์ AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality)

ให้ทั้งความรู้ สนุกสนาน เพลิดเพลิน สร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ผ่านเกมส์ “AR สื่อหรรษาตามหารามัญศิลป์ถิ่นนนท์” เกมส์ “AR เก็บ..ตก” และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริงเกี่ยวกับพุทธประวัติรูปแบบเกมส์ VR “VR เปิดประสบการณ์ใหม่ ท่องโลกพุทธศิลป์ พุทธจิตรกรรมล้ำค่านนทบุรี”

ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดสำคัญ 3 วัด ในอำเภอปากเกร็ด

เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา เครื่องหัตถศิลป์มอญผ่านเกมส์ "AR เก็บ..ตก"

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและ การเตรียมความพร้อมของประชากรไทยในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่อุดมด้วยพหุปัญญาและคุณภาพ
  2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาผ่านระบบและสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย และเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญาและสังคม ผ่านศูนย์การเรียนรู้เพื่อชุมชนพหุปัญญา
  3. เพื่อพัฒนาสารสนเทศท้องถิ่นนนทบุรีศึกษารูปแบบต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ชุมชนโดยรอบ และพื้นที่ใกล้เคียงของมหาวิทยาลัย

หนังสือหายากและทรงคุณค่า

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น