ห้องสมุด ศูนย์วิทยพัฒนาบริการ มสธ. แห่งแรก

“ศูนย์วิทยบริการ” เป็นส่วนราชการหนึ่งในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งบริการทางวิชาการแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปในภูมิภาคนั้น ๆ และเป็นเครือข่ายบริการห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาและประชาชนในท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยจะจัดสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่อประเภทอื่น ๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะดำเนินการให้บริการอ่านภายในห้องสมุด บริการยืม-คืน และบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า

มหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างศูนย์วิทยบริการเสร็จสมบูรณ์แห่งแรก ตั้งอยู่ที่ตำบลนาสาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้เปิดให้บริการแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

“ศูนย์วิทยบริการ” ได้ขยายบทบาทเพิ่มขึ้นเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิทยพัฒนาบริการ” และในปี พ.ศ. 2564 มีมติให้ออกประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 ได้มีปฏิรูปบทบาทและหน้าที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์วิทยพัฒนาบริการในการจัดกิจกรรม การบริการการศึกษา ให้เป็นเครือข่ายในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค รวมถึงการขยายและสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.”

ปัจจุบันศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. มีจำนวน 11 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ. นครศรีธรรมราช เพชรบุรี นครสวรรค์ อุบลราชธานี สุโขทัย อุดรธานี ลำปาง จันทบุรี ยะลา นครนายก และนนทบุรี ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการจัดตั้งศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์เพิ่มเติมอีกจำนวน 7 จังหวัด ซึ่งอยู่พื้นที่จังหวัดเชียงราย ภูเก็ต พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และสกลนคร เพื่อให้การจัดการและการบริการแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปนั้นครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม

? บทความ “ปฏิรูปมหาวิทยาลัย ขยายหน่วยงาน จัดตั้ง “ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ มสธ.” bit.ly/3P9gumt
? หนังสือ “20 ปี บรรณสาร พัฒนาการที่ภาคภูมิ” bit.ly/3LhZXe7
? หนังสือ “20 ปี มสธ. แห่งการพัฒนา: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช” bit.ly/3bK4Hwo

ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจ

เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”

ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่

เรียบเรียงโดย

ดวงรัตน์ ดีขั้ว บรรณารักษ์ สำนักบรรณสารสนเทศ

[sc name=”libinfoservice” ][/sc]

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น