“กระเป๋าหนังสือเคลื่อนที่” วิถีส่งเสริมการเรียนรู้สู่สังคมฉบับห้องสมุด มสธ.  

เมื่อปี พ.ศ. 2534 สำนักบรรณสารสนเทศได้จัดทำ “โครงการความรู้สู่น้องน้อย” เพื่อขยายโอกาสและส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กและเยาวชน ให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมถึงฝึกให้เด็กเกิดนิสัยรักการอ่านและรู้จักใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยบริจาคเงินสบทบทุน จำนวน 9,030 บาท เพื่อจัดหาจัดซื้อหนังสือตามที่โรงเรียนต้องการ มาจัดทำเป็น “กระเป๋าหนังสือเคลื่อนที่” และมอบให้โรงเรียนจำนวน 8 ใบ ซึ่งกระเป๋าทำด้วยไม้ เปิดออกมาจะมีลักษณะเหมือนชั้นหนังสือ มีหนังสือหลากหลายประเภท นับเป็นบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ในรูปแบบใหม่ในสมัยนั้น 

“กระเป๋าหนังสือเคลื่อนที่” ที่ทำด้วยไม้ เมื่อเปิดออกมามีลักษณะเหมือนชั้นหนังสือ

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2534 นำโดยรองศาสตราจารย์สมพิศ คูศรีพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบรรณสารสนเทศในขณะนั้น ได้นำกระเป๋าเคลื่อนที่ไปมอบให้โรงเรียนต่าง ๆ ที่อยู่รอบบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนปรมัยยิกาวาส โรงเรียนบางพูดใน โรงเรียนวัดสลักเหนือ โรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร โรงเรียนชลประทาน สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด และสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี 

ร้อยเรื่องเล่า… 100 ความทรงจำ

เป็นการเล่าเรื่องจากภาพถ่ายในรูปแบบโปสการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Postcard) จำนวน 100 ใบ ร้อยเรียงเรื่องราวตามไทม์ไลน์ ตั้งแต่อดีตปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลผลิตจาก “โครงการพัฒนาและเผยแพร่สารสนเทศ: ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านประวัติ พัฒนาการ โครงการ/กิจกรรม และความทรงจำเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงเป็นการอำลาอาคารบรรณสาร (เดิม) ก่อนย้ายเข้าสู่ที่ทำการแห่งใหม่ ณ “อาคารห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ มสธ.”

ติดตาม โครงการ “ร้อยเรื่องเล่า…100 ความทรงจำ…สำนักบรรณสารสนเทศ” ได้ที่

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น