ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อมนุษย์เป็นทุกข์ย่อมต้องหาหนทางแห่งการปลดทุกข์เป็นธรรมดา นั่นทำให้สิ่งประดิษฐ์แห่งการปลดทุกข์นามว่า “ส้วม” ถือกำเนิดขึ้น จนกลายเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์จะขาดเสียมิได้

เรื่องเกี่ยวกับ “ส้วม” นี้ มนฤทัย ไชยวิเศษ เขียนไว้อย่างละเอียดในหนังสือ “ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ในประเทศไทย” ที่ผู้เขียนนำข้อมูลบางส่วนมาเสนอให้รู้จัก “ส้วม” ดังนี้

1. บทนำ — แนวคิดเรื่องส้วมและสุขภัณฑ์ ในบริบทของการศึกษาประวัติศาสตร์สิ่งใหม่

2. ส้วมในสังคมเดิม — วิถีชีวิตของคนไทยในอดีตการที่มีประชากรน้อย จึงใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และผูกพันกับธรรมชาติและถูกกำหนดโดยปัจจัยทางธรรมชาติ ทำให้รูปแบบการขับถ่ายและการชำระร่างกายก็เป็นไปตามวัฎจักรของธรรมชาติ เช่น ถ้าขับถ่ายบนบกก็จะให้หมูหมามาจัดการ หรือไม่ก็ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ซึ่งชาวบ้านทั่วไปในสังคมเดิมยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักจนกระทั่งมีการขยายตัวของเมืองและเกิดสังคมยุคใหม่จนเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไปจนเป็นที่มาของส้วมจาก “การไปทุ่ง ไปท่า ไปป่า” จนมาถึงคำว่า “เวจ” ซึ่งเดิมเป็นสถานที่ขับถ่ายของพระสงฆ์ แต่เมื่อชาวบ้านเห็นว่าดีจึงนำมาสร้างที่บ้านและใช้ตามอย่างกัน

3. ส้วมในสังคมยุค “ศิวิไลซ์แบบฝรั่ง” (ทศวรรษ 2440-2490) – เมื่อเข้าสู่ความเป็นเมืองแบบใหม่ การติดต่อกับชาวตะวันตกเรื่องของส้วมและเครื่องสุขภัณฑ์ก็เปลี่ยนตามความทันสมัยจากตะวันตก การดำเนินชีวิตก็ปรับให้เข้ากับสังคมยุคศิวิไลซ์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครอง เศรษฐกิจและสังคมไทย จนเป็นที่มาของ “พระราชกำหนดสุขาภิบาล กรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ ศก.116” (พ.ศ. 2440) และมีการจัดตั้ง กรมศุขาภิบาล ต่อมาใช้ “ส” สะกดแทน จึงเป็นคำว่า สุขาภิบาล และเป็นที่มาของห้องสุขา หมายถึงที่สำหรับขับถ่าย และความหมายแปลงมาเป็น “ส้วม”ดังในปัจจุบัน

 4. ส้วมในสังคมยุค “มาตรฐานชีวิตแบบอเมริกัน” (ทศวรรษ 2500-2540) – เป็นยุคแห่งการพัฒนาและเปิดโอกาสให้เลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม และเรื่องของส้วมหรือเครื่องสุขภัณฑ์ก็เป็นการโอ้อวดความมั่งคั่งของฐานะทางสังคม และการใช้ชีวิตจึงเป็นสิ่งปกติที่ประชาชนมีจิตสำนึกที่ว่า “ควรขับถ่ายในส้วม และ อาบน้ำในห้องน้ำ” และการพัฒนา ส้วมและห้องน้ำ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายหรือการชำระร่างกาย เช่น กระดาษชำระหรือทิชชู เป็นต้น

5. บทสรุป — ส้วมกับประวัติศาสตร์สังคมไทย — ส้วมกับกระบวนการรับสิ่งใหม่ — ส้วมกับปรากฏการณ์ทางความคิด – ส้วมกับวันพรุ่งนี้

หากสนใจอ่านเนื้อหาทั้งเล่ม ตรวจสอบสถานะ

เชิญตอบแบบสำรวจการใช้บริการห้องสมุด เพื่อปรับปรุงการบริการห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น